กบฏ ร.ศ. 130
กบฏ ร.ศ. 130

กบฏ ร.ศ. 130

สำหรับการกบฏครั้งนี้หมายถึงการกบฏในประเทศไทย หากเป็นการปฏิวัติในประเทศจีน ดูที่: การปฏิวัติซินไฮ่กบฏ ร.ศ. 130 เป็นการกบฏที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน และจำคุกสิบห้าปี 6 คน[1] แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์(แต่ยังคงติดคุกเหมือนเดิม)เหตุผลในการก่อกบฏ เนื่องจากความไม่พอใจในกลุ่มทหาร นับตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เมื่อทหารคนหนึ่งสังกัดกรมทหารราบที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เกิดวิวาทกับมหาดเล็กของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังทรงเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฎราชกุมาร และประทับอยู่ที่วังปารุสกวัน โดยทหารชั้นนายดาบคนหนึ่งแต่งนอกเครื่องแบบออกไปเที่ยวแถวสะพานมัฆวานฯ แล้วเกิดผิดใจกับมหาดเล็กสมเด็จพระบรมฯ เกี่ยวกับแม่ค้าขายหมาก ถูกมหาดเล็กตีศีรษะ จึงวิ่งไปรายงาน ร.อ.โสม ผู้บังคับกองร้อย ขณะเดียวกันมหาดเล็กคนนั้นก็ยังตามไปร้องท้าอยู่หน้ากรม ร.อ.โสมกับนายดาบผู้ถูกตี และยังมีนายร้อยตรีอีกคน จึงออกไปหักกิ่งก้ามปูหน้ากรมไล่ตีมหาดเล็กผู้มาร้องท้า ขณะที่กำลังชุลมุนอยู่นั้นพลทหารอีกสองคนมาเห็นเข้าจึงเข้าสมทบด้วย มหาดเล็กสู้ไม่ได้จึงวิ่งหนีเข้าวังปารุสฯไปสมเด็จพระบรมฯ ทรงทราบ รับสั่งให้ผู้บังคับการกรมสอบสวน ร.อ.โสมก็รับสารภาพ พระองค์จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูนพระบรมชนกให้ทรงเฆี่ยนหลังทหารเหล่านั้น แต่พระบรมชนกไม่ทรงเห็นชอบ ทั้งเจ้านายผู้ใหญ่หลายพระองค์ เช่น กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ไม่ทรงเห็นด้วย เพราะการเฆี่ยนหลังเป็นจารีตนครบาลที่เลิกใช้ไปแล้ว ควรใช้กฎหมายอาญาที่ประกาศใช้อยู่ แต่สมเด็จพระบรมฯไม่ยอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงจำพระทัยต้องอนุมัติให้เฆี่ยนตามที่ทูลขอ ปรากฏว่าคนถูกเฆี่ยนหลังเลือดอาบ ร.อ.โสมถึงกับสลบคาขื่อเรื่องนี้ได้เกิดปฏิกิริยาขึ้นในวงการทหาร นักเรียนนายร้อยทหารบกหยุดเรียน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ต้องพยายามปลอบโยนและไกล่เกลี่ย เรื่องจึงสงบลงได้ แต่ในใจนั้นเป็นความขมขื่นของทหารหลายคน และถือว่าเป็นเรื่องที่ทำให้ทหารเสียเกียรติภูมิ อีกทั้งเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ได้ทรงตั้งกองเสือป่าขึ้นมา ซึ่งทหารหลายคนเห็นว่าเป็นการซ้ำซ้อนกับหน้าที่ทหาร และยังทรงใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างฟุ่มเฟื่อยหลายอย่างในกิจการที่ไม่จำเป็นอีกด้วย ประกอบกับในหลายประเทศรอบด้านก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น การปฏิวัติซินไฮ่ในจีน หรือการที่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ แห่งญี่ปุ่น พระราชทานรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการยึดอำนาจมาตั้งแต่ พ.ศ. 2411 ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นต้น[2]คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 (นับเวลาแบบสากล คือ เริ่มปี พ.ศ. 2455 วันที่ 1 มกราคม แต่บางตำราจะเขียนเป็น 13 มกราคม พ.ศ. 2454 เพราะนับเวลาแบบสยามในครั้งนั้นที่ เริ่มปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน) ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ [3]และมีการประชุมอีกหลายครั้ง ที่สุดคณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับสลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาดโยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งพระองค์พิโรธมาก ถึงกับจับคณะผู้ก่อการโยนใส่ห้องขังและกระชากอินทรธนูที่ติดอยู่บนเครื่องแบบที่บ่าด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์